...ยินดีต้อนรับสู่บล็อกที่อัพเดตข่าวสารของธนาคารไทยพาณิชย์อย่างครอบคลุม จัดทำโดยนศ.หลักสูตรการเงิน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต...

วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เตือนวิกฤตหนี้ยูโรโซนกดดันส่งออกไปยุโรป


      ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC) รายงานว่า กระทรวงพาณิชย์รายงานมูลค่าการส่งออกของไทยเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ 20.93 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 7.7%YOY (เทียบกับเดือนเดียวกันในปีก่อนหน้า) ขณะที่มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 22.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 18.2%YOY ส่วนดุลการค้าขาดดุล 1.74 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 

     "มูลค่าการส่งออกของไทยขยายตัวมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ประมาณการไว้ การส่งออกกลับมาขยายตัวอีกครั้งในเดือนพฤษภาคม โดยการส่งออกไปยุโรปและญี่ปุ่นกลับมาขยายตัวได้เป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน  จุดเด่นอยู่ที่การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ขยายตัวถึง 11%YOY ซึ่งเป็นการขยายตัวครั้งแรกตั้งแต่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมในเดือนตุลาคมของปีที่ผ่านมา สะท้อนถึงการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ฟื้นตัวจนใกล้ระดับปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมรถยนต์ที่มูลค่าการส่งออกขยายตัวสูงถึง 112%YOY"
     อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าเกษตรยังหดตัวต่อเนื่อง มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรลดลง 15.1%YOY ส่วนหนึ่งเป็นเพราะราคาสินค้าเกษตรกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคายางพาราที่ลดลงกว่า 25%YOY ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งส่งผลให้มูลค่าการส่งออกยางพาราของไทยลดลงถึง 27%YOY นอกจากนี้มูลค่าการส่งออกข้าวยังลดลงต่อเนื่องราว 29%YOY จากปริมาณการส่งออกข้าวที่ลดลง
    ขณะที่การนำเข้าสินค้าทุนยังขยายตัวสูงต่อเนื่อง การนำเข้าสินค้าทุนในเดือนพฤษภาคมขยายตัวถึง 40.7% สะท้อนให้เห็นว่ายังมีการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อทดแทนส่วนที่เสียหายอยู่อีกจำนวนมาก
    ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์ รายงานว่า ไทยขาดดุลการค้าจากทองคำ หากไม่รวมทองคำการขาดดุลการค้าของไทยจะอยู่ที่ 380 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เท่านั้น
    "ความเสี่ยงหลักมาจากวิกฤติเศรษฐกิจในยุโรป ถึงแม้ว่าตัวเลขมูลค่าการส่งออกของไทยโดยรวมในเดือนพฤษภาคมจะดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ แต่การส่งออกไปยังประเทศใหญ่ ๆ ในยุโรป เช่น สเปนและอิตาลีหดตัวลงอย่างชัดเจน ดังนั้น ผู้ส่งออกควรติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจรวมถึงปัจจัยเสี่ยงในระบบสถาบันการเงินของยูโรโซนอย่างใกล้ชิด"

ที่มา:วันที่ 26 มิถุนายน 2555 
จากเว็บไซต์ กรุงเทพธุรกิจ http://snipurl.com/245gsh7

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ป่วน!อินเตอร์เน็ทแบงก์กิ้งโดนเจาะ'SCB'ยันเซิฟเวอร์ปลอดภัย



           นางองค์อร อาภากร ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโสสายงานสื่อสารองค์กร ธนาคาร
ไทยพาณิชย์ ยืนยันว่า การโจมตีข้อมูลทางการเงินของมิจฉาชีพ โดยการปล่อยไวรัสโทรจันและ
การทำเมล์ซ้ำ แก่ลูกค้าอินเตอร์เน็ทแบงกิ้งนั้น จะเกิดขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของลูกค้าที่ติดไวรัส
หรือบางครั้งเกิดจากที่ลูกค้าได้ให้ข้อมูลแก่มิจฉาชีพโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
           "การโจมตีจากไวรัส เกิดขึ้นที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของลูกค้า ขอยืนยันว่า ไวรัสไม่สามารถ
เจาะเข้ามาที่ระบบเซิฟเวอร์ของแบงก์ได้แน่นอน เพราะมีระบบป้องกันที่แน่นหนาปลอดภัยสูงสุด
ขอให้ลูกค้าสบายใจได้"นางองค์อร กล่าวผ่านรายการ 102 องศาข่าว ทางคลื่น FM102
           นางองค์อร ยอมรับว่า ขณะนี้การปล่อยไวรัสเพื่อดูดเงินในบัญชีของลูกค้าอินเตอร์เน็ท
แบงก์กิ้งกำลังระบาด เบื้องต้นลูกค้าจะต้องเพิ่มความระมัดระวัง และตรวจสอบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ที่ใช้งานหากสงสัยก็ติดต่อที่ธนาคารได้
           สำหรับวิธีป้องกัน นางองค์อร กล่าวว่า ลูกค้าต้องอัพเดทโปรแกรมป้องกันไวรัสอย่างสม่ำเสมอ
ห้ามให้บุคคลแปลกหน้าใช้คอมพิวเตอร์ ทำรายการทางการเงินที่สำคัญ ห้ามให้พาสเวิร์ดหรือเบอร์บัญชี
แก่ใครโดยเด็ดขาด
           "ลูกค้าของเราเจอไป 6 ราย รวม 5 แสนกว่าบาท ซึ่งเรารับผิดชอบให้ หลังจากที่มีการตรวจสอบข้อมูลร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว" นางองค์อร กล่าว

ที่มา : วันที่ 26 มิถุนายน 2555 
จากเว็บไซต์ กรุงเทพธุรกิจ http://snipurl.com/2439a5e

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ไทยพาณิชย์และพันธมิตร ร่วมฉลองความสำเร็จการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ Indorama Ventures Debentures มูลค่า 9,400 ล้านบาท


120625_deben.jpg

            ธนาคารไทยพาณิชย์ พร้อมด้วยธนาคารพันธมิตร  ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ร่วมฉลอง
ความสำเร็จในการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ของ กลุ่มบริษัทอินโดรามา  โครงการ Indorama Ventures Debentures 
มูลค่า 9,400 ล้านบาท นับเป็นหุ้นกู้ที่มีมูลค่าสูงที่สุดของบริษัท ซึ่งธนาคารทั้ง 3 แห่งเป็นผู้จัดจำหน่ายหุ้นกู้ใน
ครั้งนี้ โดยมี นายอาลก โลเฮีย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) 
นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ 
ธนาคารกรุงไทย และนายธีรนันท์ ศรีหงส์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย ร่วมในงานซึ่งจัดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ 
ณ ห้องสุขุมวิท โรงแรมเชอราตันแกรนด์ สุขุมวิท

ที่มา วันที่ 25 มิถุนายน 2555

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ไทยพาณิชย์ สนับสนุน เอสซีจี เทรดดิ้ง ให้บริการเอกสารการส่งออก เสริมศักยภาพสู่การเป็น “Thailand Trading House” เพื่อผู้ประกอบการไทย


     120611-trade.jpg

             คุณพรรณแข นันทวิสัย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส สาย Global Transaction Services กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ และ คุณกลินท์ สารสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสซีจี เทรดดิ้ง จำกัด ร่วมลงนามในการให้บริการจัดเตรียมเอกสารการส่งออก (SCB Export Trade Documents Preparation) แบบครบวงจร เพื่อเสริมศักยภาพการบริการด้านการส่งออกและนำเข้าตามโครงการ “One Stop Services” ภายใต้แนวคิด “Thailand Trading House” ให้กับผู้ประกอบการขนาดกลางและใหญ่ 


ที่่มา วันที่ 11 มิถุนายน 2555

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ไทยพาณิชย์ มอบเงินสนับสนุน Thai BISPA ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี


120620-bispa.jpg

                
            ธนาคารไทยพาณิชย์ โดย นายศิริชัย สมบัติศิริ รองผู้จัดการใหญ่ กลุ่มลูกค้าธุรกิจ มอบเงินสนับสนุน
   จำนวน 1 ล้านบาท แก่สมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย หรือ Thai BISPA เพื่อนำไปใช้ใน
   การพัฒนาศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ส่งเสริมและพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงสนับสนุนการ
   เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและการเชื่อมโยงเครือข่ายให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยโดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ 
   ดร.ชัชนาถ เทพธรานนท์ นายกสมาคมฯ เป็นผู้รับมอบ เมื่อเร็วๆนี้ ณ ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่


แหล่งข้อมูล วันที่ 20 มิถุนายน 2555

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ไทยพาณิชย์เดินหน้าเต็มกำลัง ชูกลยุทธ์ “ตอบรับทุกช่วงชีวิตธุรกิจของ SME” เตรียมขึ้นท็อป 3 ผู้นำตลาด SME ตั้งเป้ายอดสินเชื่อรวม 3 แสนล้านบาท


          แบ่งกลุ่มลูกค้าออกเป็น 3 ช่วงธุรกิจ เริ่มต้น-เติบโต-มั่นคง เริ่มต้นบุกตลาดต้นปีจับกลุ่มลูกค้าที่มีธุรกิจกำลังเติบโต
 ด้วยบริการใหม่ที่ครบวงจรในรูปแบบของโททัล โซลูชั่น (Total Solution)


          ธนาคารไทยพาณิชย์ ตอกย้ำความแข็งแกร่ง พร้อมเร่งสร้างความเติบโตที่มั่นคงอย่างต่อเนื่องปรับกลยุทธ์
 ชูคอนเซ็ปต์ใหม่ “ตอบรับทุกช่วงชีวิตธุรกิจของเอสเอ็มอี” (Business Life Stage) รุกตลาดเจาะกลุ่มลูกค้าที่มี
ธุรกิจกำลังเติบโต (Growth) ด้วยบริการใหม่ที่ครบวงจรในรูปแบบของ “โททัล โซลูชั่น” (Total Solution)
 เปิดตัว 2 ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน “SCB SME สินเชื่อวงเงิน 3 เท่า โตตามคุณ” ช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางธุรกิจ 
ด้วยวงเงิน 3 เท่าและเพิ่มวงเงิน O/D ให้ตามการเติบโตของธุรกิจ และ “SCB SME TRADE สินเชื่อต่างประเทศ
โตไว” สำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออก วงเงินสูงสุด 120 ล้านบาทโดยไม่จำกัดประเภทหลักประกันและฟรีค่าธรรมเนียม
เงินโอน คาดจะมีการขอสินเชื่อจากแคมเปญนี้คิดเป็นวงเงินประมาณ 15,000 ล้านบาท มั่นใจติดท็อป 3 ผู้นำ
ด้านธุรกิจ SME ด้วยยอดสินเชื่อ 3 แสนล้านบาท ภายในปี 2013
        

                       


       นายศิริชัย สมบัติศิริ รองผู้จัดการใหญ่ กลุ่มลูกค้าธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยถึงกลยุทธ์ในการบุกตลาด
เอสเอ็มอีในปี 2555 ว่า “ไทยพาณิชย์ยึดมั่นและให้ความสำคัญกับการตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของลูกค้ากลุ่ม
เอสเอ็มอี โดยยึดหลัก “ลูกค้าคือศูนย์กลาง” หรือ “Customer Centric” ในการมุ่งหน้าดูแลลูกค้าไม่เพียงเฉพาะ
ด้านธุรกิจเท่านั้น หากแต่ยังโฟกัสลงลึกใน 3 ด้านหลักสำคัญ คือ ความต้องการทางด้านธุรกิจ ความต้องการทางด้าน
ชีวิตส่วนตัว และความต้องการของคู่ค้าและพนักงานของลูกค้า เพื่อช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจเอสเอ็มอีเติบโตไปได้อย่างยั่งยืน 
และเพื่อให้เข้าใจลูกค้าในเชิงลึกเราให้ความสำคัญกับการทำวิจัยทาการตลาดเพื่อนำมาพัฒนารูปแบบของโซลูชั่นและ
ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ล่าสุดพบว่าลูกค้าเอสเอ็มอีของเรามีความต้องการการสนับสนุนด้านการเงินที่แตกต่างกันในแต่ละ
ช่วงธุรกิจ (Business Life Stage) จึงเป็นที่มาของคอนเซ็ปต์ใหม่ในการรุกตลาด คือ “ตอบรับทุกช่วงชีวิตธุรกิจของ
เอสเอ็มอี” โดยเราได้จัดกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอีใหม่ แบ่งเป็น ธุรกิจที่กำลังเริ่มต้น (Young) คือ ผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มต้นทำ
ธุรกิจ อยู่ในช่วงค้นหา Model ของธุรกิจที่เหมาะสม, ธุรกิจที่กำลังเติบโต (Growth) ได้แก่ ผู้ประกอบการที่ค้นหา Model 
ธุรกิจที่เหมาะสมพบแล้ว และกำลังขยายธุรกิจให้เติบโต และ กลุ่มธุรกิจที่มั่นคง (Stable) หมายถึง ผู้ประกอบการที่ผ่านพ้น
ช่วงเติบโตและมีรากฐานมั่นคงซึ่งอาจกำลังอยู่ระหว่างการส่งต่อธุรกิจให้รุ่นต่อไป”

       โดยในปีนี้ SCB SME มุ่งเน้นไปที่กลุ่มธุรกิจที่กำลังเติบโต (Growth) เนื่องจากเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพสูงและมี
ความสามารถในการเติบโตทางธุรกิจได้ไกลมากยิ่งขึ้น ด้วยสัดส่วนลูกค้าในตลาด SME กลุ่มนี้มีสัดส่วนถึง 47%  เริ่มต้น
บุกตลาดต้นปีด้วยผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ที่ครบวงจรในรูปแบบของโททัล โซลูชั่น (Total Solution) ด้วยสองผลิตภัณฑ์
ใหม่ทางการเงินที่จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีธุรกิจอยู่ในช่วงกำลังเติบโต ประกอบด้วย
“SCB SME สินเชื่อวงเงิน 3 เท่า โตตามคุณ” ด้วยวงเงิน 3 เท่าและเพิ่มวงเงิน O/D ให้ตามยอดขายที่เติบโตของธุรกิจ
และ “SCB SME TRADE สินเชื่อต่างประเทศโตไว” สำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออก ที่ให้คุณเติบโตได้อย่างอิสระ ด้วยวงเงิน
สูงสุด 120 ล้านบาท ไม่จำกัดหลักประกัน และฟรีค่าธรรมเนียมเงินโอน

       “ในปี2554 ที่ผ่านมาสินเชื่อเอสเอ็มอีของธนาคารได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ประกอบการทั่วประเทศมียอดสินเชื่อ
คงค้างที่ 235,000 ล้านบาท เติบโตกว่า 25% โดยมียอดสินเชื่อใหม่สูงถึง 60,000 ล้านบาท และจากการออกแคมเปญใหม่
ด้วยคอนเซ็ปต์ “ตอบรับทุกช่วงชีวิตธุรกิจของ SME” กับ 2 ผลิตภัณฑ์ใหม่ในครั้งนี้ ธนาคารตั้งเป้ายอดสินเชื่อใหม่คิดเป็นวงเงิน
ประมาณ 15,000 ล้านบาท มั่นใจภายในปี 2013 สามารถขึ้นเป็น 1 ใน 3 ผู้นำด้านธุรกิจเอสเอ็มอี ด้วยยอดสินเชื่อคงค้าง 
300,000 ล้านบาท” นายศิริชัยกล่าวทิ้งท้าย

                           


แหล่งอ้างอิง : วันที่ 14 มีนาคม  พ.ศ.2555 
จาก เว็บไซต์ http://www.scb.co.th/th/news/2012-03-14/nws_120314_sme

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ไทยพาณิชย์คาดกนง.คงดอกเบี้ยอาร์พี 3.0%


         ไทยพาณิชย์คาดกนง.คงดอกเบี้ยอาร์พี 3.0% ลากยาวถึงสิ้นปี"55 มั่นใจเงินเฟ้อไม่เกินกรอบเป้าหมาย คาดดอกเบี้ยนโยบายเริ่มขยับต้นปี"56

        ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC) มองว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะคงอยู่ที่ 3.0% ในปี 2012 โดยเงินเฟ้อในช่วงที่เหลือของปีนี้ยังอยู่ในกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) "อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจนถึงระดับ 2.7% ในไตรมาส 4 ซึ่งยังไม่เกินกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ"
        นอกจากนี้ การปรับขึ้นราคาสินค้าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งนโยบายการเงินไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้น จึงยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
        ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์ แนะนำให้จับตาดูอุปสงค์ในประเทศ หากการใช้จ่ายในประเทศขยายตัวได้ดีในสองไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ธปท.น่าจะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นในช่วงต้นปี 2013


แหล่งอ้างอิง : วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2555 
จากเว็บไซต์ กรุงเทพธุรกิจ http://snipurl.com/23zhr42

วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ไทยพาณิชย์มองต้นปี'56ดอกเบี้ยมีโอกาสขึ้น


ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC) รายงานว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 3.0% ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 13 มิถุนายน 2555 ซึ่งเป็นตามที่ตลาดคาดการณ์         
        จากความกังวลว่าวิกฤติเศรษฐกิจยุโรปอาจทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประเทศเศรษฐกิจสำคัญอื่นๆ เช่น สหรัฐฯ และจีน ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าไปยังยุโรป สหรัฐฯ และจีน รวมกันเป็นสัดส่วนถึงราว 30% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทย ซึ่งสินค้าที่จะได้รับผลกระทบค่อนข้างมากได้แก่ สินค้าอิเล็คทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ เครื่องจักรกล ผลิตภัณฑ์ยาง และเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น หากการส่งออกชะลอลง การบริโภค การลงทุน และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้         
        "ความเสี่ยงทางด้านเงินเฟ้อยังมีอยู่ในครึ่งปีหลัง เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างขั้นต่ำเป็นแรงกดดันหลักให้ราคาสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้น เห็นได้จากอัตราการเพิ่มขึ้นแต่ละเดือนของดัชนีราคาผู้บริโภค (อัตราเงินเฟ้อ %MOM) ที่ยังไม่ได้ชะลอลงตามราคาพลังงาน นอกจากนี้ราคาพลังงานในประเทศ เช่น ค่าไฟฟ้า และแก๊สรถยนต์ ยังคงรอการปรับขึ้นตามนโยบายการปรับโครงสร้างราคาพลังงานของรัฐบาล รวมทั้งสินค้าอื่นๆ ที่อยู่ในระยะเวลาการตรึงราคา ทำให้ในช่วงครึ่งปีหลังยังคงมีแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้ออยู่"         
  ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์รายงานว่าเศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 ฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาด การผลิตน่าจะกลับมาปกติในปลายไตรมาส 2 การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนเร่งขึ้น การส่งออกคาดว่าจะฟื้นตัวได้เร็วขึ้นตามการผลิต แรงกระตุ้นภาครัฐ และภาวะการเงินที่อำนวย จะเป็นแรงสนับสนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง         
  "เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวดีเกินคาด และมีสัญญาณขยายตัวต่อเนื่องโดยได้แรงสนับสนุนจากภาวะการเงินที่ผ่อนคลาย สินเชื่อภาคเอกชนขยายตัวสูง และนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ อย่างไรก็ดีภาคการส่งออกมีโอกาสทำให้การฟื้นตัวชะลอลงหากปัญหากลุ่มประเทศยูโรรุนแรงขึ้น"ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ รายงานว่า อัตราเงินเฟ้อเดือนเมษายนชะลอลงเป็นผลของฐานสูงในปีก่อน อย่างไรก็ดีราคาน้ำมันที่ยังสูงและการปรับค่าจ้างขั้นต่ำยังเป็นแรงกดดันเงินเฟ้อในระยะข้างหน้า         
  "แรงกดดันเงินเฟ้อจากต้นทุนแผ่วลงตามราคาน้ำมัน การปรับค่าแรงและราคาพลังงานทำให้การคาดการณ์เงินเฟ้อยังสูง โดยรวมแล้วแรงกดดันเงินเฟ้อยังคงมีอยู่แต่ลดลงจากก่อนหน้า"ทั้งนี้ คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังคงอยู่ที่ระดับ 3.0% จนถึงปลายปี 2012 หากสถานการณ์ในยุโรปไม่รุนแรงมากนัก น้ำหนักการขึ้นดอกเบี้ยยังคงมีมากกว่าน้ำหนักการลดดอกเบี้ยในช่วงต้นปีหน้า

ที่มา :  วันที่ 14/06/2012 
เว็บไซต์  กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (http://www.moneyandbanking.co.th/newsupdate.php?defTab=0&isb=isb002|3&newsID=1885

ไทยพาณิชย์ก้าวขึ้นเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทยในการจัดอันดับ Forbes Global 2000



             ธนาคารไทยพาณิชย์ ก้าวสู่ความเป็นบริษัทชั้นนำของโลก ได้รับการจัดอันดับให้เป็นธนาคารพาณิชย์ไทยอันดับ 1 จาก Forbes Global 2000 ซึ่งเป็นการจัดอันดับกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ชั้นนำของโลกประจำปี 2555 จากนิตยสาร Forbes นิตยสารธุรกิจการเงินชั้นนำของสหรัฐอเมริกา โดยเป็นจัดอันดับบริษัทขนาดใหญ่ของโลกจำนวน 2,000 บริษัท ในปีนี้มีบริษัทไทยได้รับการจัดอันดับรวมทั้งสิ้น 17 บริษัท และธนาคารไทยพาณิชย์ได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 2 ของประเทศไทย หรือเป็นที่ 1 ในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย

            ดร. วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ ให้ความเห็นว่า “จากการจัดอันดับ Forbes Global 2000 ใน ปี พ.ศ. 2555 ธนาคารไทยพาณิชย์ได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ 662 จาก 2,000 บริษัทชั้นนำของโลก โดยมีพัฒนาการอันโดดเด่นก้าวขึ้นมาจากอันดับ 763 ในปี 2554 และก้าวขึ้นเป็นที่หนึ่งในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทยที่อยู่ในการจัดอันดับในครั้งนี้ นับเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสามารถและศักยภาพในการดำเนินธุรกิจของธนาคารไทยพาณิชย์ในระดับโลก รวมถึงเป็นการตอกย้ำผลสำเร็จของความพยายามปรับตัวของธนาคารตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งสามารถสร้างการเติบโตอย่างแข็งแกร่งให้กับธนาคาร จนเป็นสถาบันการเงินที่ได้รับการยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับสากลเช่นในวันนี้ ในการนี้ ธนาคารขอขอบคุณลูกค้า พนักงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนที่เป็นพลังผลักดันนำให้เราก้าวมาสู่จุดนี้ร่วมกัน และธนาคารยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่มให้ดียิ่งขึ้นต่อไป”
 


ที่มา: นิตยาสาร Forbes Asia ฉบับเดือนพฤษภาคม 2555 และ
     
  http://www.forbes.com/global2000/#p_1_s_a0_All%20industries_Thailand_All%20states_

        นิตยสาร Forbes ได้เริ่มจัดอันดับบริษัทชั้นนำของโลก 2000 บริษัท หรือเรียกว่า Forbes Global 2000 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา โดยในการจัดอันดับบริษัทชั้นนำของโลกนั้น พิจารณาจาก 4 ปัจจัย คือ ยอดขาย กำไร สินทรัพย์ และ มูลค่าตลาด ซึ่ง ธนาคารไทยพาณิชย์ได้รับการจัดอันดับอยู่ในกลุ่มบริษัทชั้นนำของโลกนับตั้งแต่ครั้งแรกที่นิตยสาร Forbes เริ่มจัดอันดับโดยในปี พ.ศ. 2546 ธนาคารได้รับการจัดอันดับที่ 1,854 และมีบริษัทขนาดใหญ่ของไทยอีก 7 บริษัทได้รับการจัดอันดับเป็นบริษัทชั้นนำของโลกเช่นกัน  

รายชื่อ 17 บริษัทไทยที่ได้รับการจัดอันดับใน Forbes Global 2000



รายนามบริษัทไทยที่ได้รับการจัดอันดับ 
Forbes Global 2000 ในปี 2012
อันดับปี 2012
อันดับปี 2011
1
บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)
167
171
2
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
662
763
3
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
665
1,779
4
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
679
751
5
บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
683
620
6
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
745
765
7
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน
974
994
8
บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
1,167
1,332
9
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)
1,215
1,352
10
บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
1,288
1,409
11
บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน)
1,428
1,726
12
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
1,443
1,425
13
บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)
1,707
1,471
14
บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
1.714
-
15
บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) - InTouch
1,742
-
16
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (
1,838
1,747
17
บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน)
1,886
1,804


ที่มา: วันที่ 23 พฤษภาคม 2555
เว็บไซต์  http://www.scb.co.th/th/news/2012-05-23/nws_forbes_global

วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ไทยพาณิชย์จัดประชุมผู้ถือหุ้น มีมติจ่ายเงินปันผลหุ้นละ 3.50 บาท

                          Untitled-4.jpg
            ธนาคารไทยพาณิชย์ จัดประชุมผู้ถือหุ้นครั้งที่ 189 โดยมีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตรา หุ้นละ 3.50 บาท  รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 11,897 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 38.3 ของกำไรสุทธิปี 2554 เพิ่มขึ้น 0.50 บาทต่อหุ้นจากอัตราการจ่ายเงินปันผลจากการดำเนินงานปี 2553  ทั้งนี้มีผู้บริหารได้แก่ นายอานันท์ ปันยารชุน  นายกกรรมการ  ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์  กรรมการผู้จัดการใหญ่ พร้อมด้วยคณะกรรมการธนาคารร่วมประชุม  โดยมีผู้ถือหุ้นให้ความสนใจเข้าร่วมประชุมจำนวนมาก  ณ หอประชุมมหิศร ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่


ที่มา วันที่ 05/04/55
เว็บไซต์ http://www.scb.co.th/th/news/2012-04-05/nws_120405_share

ไทยพาณิชย์รับมอบใบอนุญาตเปิดสำนักงานผู้แทนในพม่า


              120425-mm.jpg

        นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ รับมอบใบอนุญาตเปิดสำนักงานผู้แทน (Representative Office) จาก นาย U Than Nyein ผู้ว่าการธนาคารกลางแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า โดยเป้าหมายในระยะยาวของธนาคารคือการเปิดสาขาเพื่อรองรับและให้บริการทางการเงินแก่ลูกค้าของธนาคารที่เข้าไปลงทุนและทำธุรกิจในประเทศพม่าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ณ กรุงเนปีดอว์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า

ที่มา วันที่ 25 เมษายน 2555 
เว็บไซต์ http://www.scb.co.th/th/news/2012-04-25/nws_myanmar

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ไทยพาณิชย์จัดสัมมนา “กลยุทธ์เหนือชั้น สู่ประตู AEC”

          ธนาคารไทยพาณิชย์ จัดงานสัมมนา “กลยุทธ์เหนือชั้นสู่ประตู AEC” เตรียมความพร้อมทางด้านกลยุทธ์ธุรกิจให้แก่ธุรกิจไทยสู่การเปิดสมาคม เศรษฐกิจอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยได้รับเกียรติจากนักธุรกิจจากองค์กรชั้นนำที่มีประสบการณ์ทางด้านการลง ทุนและดำเนินธุรกิจในภูมิภาคอาเซียน   ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแนะแนวทางการปรับตัวสำหรับธุรกิจทั้งใน ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ พร้อมด้วยการบรรยายหัวข้อ “เจาะลึกโอกาสธุรกิจใน AEC” โดย ดร. สุทธาภา  อมรวิวัฒน์ Chief Economist และผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ 

          นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานสัมมนาในครั้งนี้ว่า เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนักธุรกิจ และผู้ประกอบการของไทยให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับสมาคมเศรษฐกิจอาเซียน และโอกาสที่จะเกิดขึ้นสำหรับภาคธุรกิจ พร้อมทั้งเปิดมุมมองและสะท้อนให้เห็นถึงโอกาสและศักยภาพทางธุรกิจในภูมิภาค    โดยธนาคารเองมองว่าการมาถึงของ AEC จะสร้างโอกาสในเชิงบวกให้กับประเทศไทยอย่างมากและพร้อมที่จะให้การสนับสนุนลูกค้าที่สนใจในการลงทุนในโอกาสใหม่นี้อย่างเต็มที่”

          ดร. สุทธาภา อมรวิวัฒน์ Chief Economist และผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ให้ความเห็นเกี่ยวกับ AEC ว่า “ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนั้นไม่ได้เกิดขึ้นด้วยเรื่องของนโยบายเพียงอย่างเดียว แต่มาจากการขับเคลื่อนของตลาด เพราะศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญกำลังเปลี่ยนมาสู่เอเชียตะวันออกและอาเซียนก็เป็นตลาดสำคัญ ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ในการเข้าสู่ AEC ก็คือการเปิดเสรีมากขึ้น ซึ่งโดยหลักการแล้วจะทำให้ระดับการแข่งขันของธุรกิจเพิ่มขึ้น แต่ความมากน้อยของโอกาสและผลกระทบจะแตกต่างกันไปแล้วแต่ธุรกิจ จึงส่งผลให้กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจจากการเข้าสู่ AEC ของแต่ละธุรกิจมีความแตกต่างกันออกไป โดยรวมแล้ว กลยุทธ์ของแต่ละธุรกิจอาจจะพอแบ่งได้เป็น 3 แนวทางกว้างๆ ได้แก่ (1) กลุ่มธุรกิจที่จะมีโอกาสมากขึ้นในประเทศ (2) กลุ่มธุรกิจที่มีโอกาสการไปลงทุนหรือขยายตลาดในต่างประเทศ และ (3) กลุ่มธุรกิจที่ต้องเตรียมรับมือจากความท้าทายที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ต่างๆ และการเพิ่มขึ้นของคู่แข่งทางธุรกิจ สิ่งที่ธุรกิจควรจะทำตั้งแต่ตอนนี้ควรจะเริ่มตั้งแต่สำรวจธุรกิจตนเอง ศึกษาโอกาสและคู่แข่ง ทำความเข้าใจและประเมินความเสี่ยง ทุกธุรกิจจำเป็นต้องหาอาวุธของตนเองเพราะการสร้างความได้เปรียบจะเป็นหัวใจสำคัญในการแข่งขันของธุรกิจที่เพิ่มขึ้น”


          ในงานสัมมนาครั้งนี้ ยังได้รับเกียรติจากนักธุรกิจจากองค์กรชั้นนำของไทยที่มีประสบการณ์   การทำธุรกิจในภูมิภาคมาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแนะกลยุทธ์การปรับตัวที่สำคัญทั้งในภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ รองประธานกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และ ดร.สัมพันธ์ ศิลปนาฏ รองประธาน บริษัท เวสเทิร์นดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด และในภาคบริการ ได้แก่ ดร. รณชิต มหัทธนะพฤทธิ์ รองประธานอาวุโส ฝ่ายการเงินและบริหาร บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) นพ. เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการ โรงพยาบาลรามคำแหง และ คุณประวิทย์ จิตนราพงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แบล็ดแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด 


แหล่งอ้างอิง : วันที่ 13 มิ.ย. 2555 
เว็บไซต์ http://www.scb.co.th/th/news/2012-06-13/nws_120613_AEC