ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC) รายงานว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 3.0% ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 13 มิถุนายน 2555 ซึ่งเป็นตามที่ตลาดคาดการณ์
จากความกังวลว่าวิกฤติเศรษฐกิจยุโรปอาจทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประเทศเศรษฐกิจสำคัญอื่นๆ เช่น สหรัฐฯ และจีน ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าไปยังยุโรป สหรัฐฯ และจีน รวมกันเป็นสัดส่วนถึงราว 30% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทย ซึ่งสินค้าที่จะได้รับผลกระทบค่อนข้างมากได้แก่ สินค้าอิเล็คทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ เครื่องจักรกล ผลิตภัณฑ์ยาง และเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น หากการส่งออกชะลอลง การบริโภค การลงทุน และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
"ความเสี่ยงทางด้านเงินเฟ้อยังมีอยู่ในครึ่งปีหลัง เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างขั้นต่ำเป็นแรงกดดันหลักให้ราคาสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้น เห็นได้จากอัตราการเพิ่มขึ้นแต่ละเดือนของดัชนีราคาผู้บริโภค (อัตราเงินเฟ้อ %MOM) ที่ยังไม่ได้ชะลอลงตามราคาพลังงาน นอกจากนี้ราคาพลังงานในประเทศ เช่น ค่าไฟฟ้า และแก๊สรถยนต์ ยังคงรอการปรับขึ้นตามนโยบายการปรับโครงสร้างราคาพลังงานของรัฐบาล รวมทั้งสินค้าอื่นๆ ที่อยู่ในระยะเวลาการตรึงราคา ทำให้ในช่วงครึ่งปีหลังยังคงมีแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้ออยู่"
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์รายงานว่าเศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 ฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาด การผลิตน่าจะกลับมาปกติในปลายไตรมาส 2 การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนเร่งขึ้น การส่งออกคาดว่าจะฟื้นตัวได้เร็วขึ้นตามการผลิต แรงกระตุ้นภาครัฐ และภาวะการเงินที่อำนวย จะเป็นแรงสนับสนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง
"เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวดีเกินคาด และมีสัญญาณขยายตัวต่อเนื่องโดยได้แรงสนับสนุนจากภาวะการเงินที่ผ่อนคลาย สินเชื่อภาคเอกชนขยายตัวสูง และนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ อย่างไรก็ดีภาคการส่งออกมีโอกาสทำให้การฟื้นตัวชะลอลงหากปัญหากลุ่มประเทศยูโรรุนแรงขึ้น"ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ รายงานว่า อัตราเงินเฟ้อเดือนเมษายนชะลอลงเป็นผลของฐานสูงในปีก่อน อย่างไรก็ดีราคาน้ำมันที่ยังสูงและการปรับค่าจ้างขั้นต่ำยังเป็นแรงกดดันเงินเฟ้อในระยะข้างหน้า
"แรงกดดันเงินเฟ้อจากต้นทุนแผ่วลงตามราคาน้ำมัน การปรับค่าแรงและราคาพลังงานทำให้การคาดการณ์เงินเฟ้อยังสูง โดยรวมแล้วแรงกดดันเงินเฟ้อยังคงมีอยู่แต่ลดลงจากก่อนหน้า"ทั้งนี้ คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังคงอยู่ที่ระดับ 3.0% จนถึงปลายปี 2012 หากสถานการณ์ในยุโรปไม่รุนแรงมากนัก น้ำหนักการขึ้นดอกเบี้ยยังคงมีมากกว่าน้ำหนักการลดดอกเบี้ยในช่วงต้นปีหน้า
ที่มา : วันที่ 14/06/2012
เว็บไซต์ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (http://www.moneyandbanking.co.th/newsupdate.php?defTab=0&isb=isb002|3&newsID=1885)
เว็บไซต์ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (http://www.moneyandbanking.co.th/newsupdate.php?defTab=0&isb=isb002|3&newsID=1885)
1 ความคิดเห็น:
จากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจยุโรปที่เกิดขึ้น รวมไปถึงในครึ่งปีหลังอาจมีปัญหาจากอัตราเงินเฟ้อเนื่องจากอัตราการจ้างขั้นต่ำและราคาสินค้าเพิ่มมากขึ้น อาจจะส่งผลให้ในปี 2013 อัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นจากเดิม โดยในปีนี้ที่ ธปท.จะให้คงแค่ 3.0% จนถึงปลายปี หากสถานการณ์ทางยุโรปไม่รุนแรงเพิ่มขึ้น
แสดงความคิดเห็น