ไทยพาณิชย์มองต้นปี'56ดอกเบี้ยมีโอกาสขึ้น
สรุปดังนี้ EIC รายงานว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 3.0% ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 13 มิถุนายน 2555
จากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจยุโรปที่เกิดขึ้น รวมไปถึงในครึ่งปีหลังอาจมีปัญหาจากอัตราเงินเฟ้อเนื่องจากอัตราการจ้างขั้นต่ำและราคาสินค้าเพิ่มมากขึ้น อาจจะส่งผลให้ในปี 2013 อัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นจาก โดยในปีนี้ที่ ธปท.จะให้คงแค่ 3.0% จนถึงปลายปีหากสถานการณ์ทางยุโรปไม่รุนแรงเพิ่มขึ้น
อัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงที่ผ่านมา
ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย
|
|
|
|
|
|
|
ในการดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ กรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบาย
เป็นเครื่องมือหลักในการส่งสัญญาณนโยบายการเงิน โดยในช่วงที่ผ่านมาจนถึงวันที่ 16 มกราคม 2550 กนง. ได้ใช้อัตรา
ดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร 14 วัน (RP 14 วัน) เป็นดอกเบี้ยนโยบาย ต่อมาตั้งแต่ 17 มกราคม 2550 กนง. ได้ เปลี่ยนมาใช้
อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร 1 วัน (RP 1 วัน) แทน
การเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยจากอัตราดอกเบี้ย RP 14 วัน มาเป็น RP 1 วัน มีสาเหตุสำคัญดังนี้
- ธปท. กำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็น term ยาวกว่า 1 วัน แต่เข้าทำธุรกรรมในตลาดทุกวัน
- ปักษ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของสถาบันการเงิน (Reserve Maintenance Period) ไม่สอดคล้องกับ
- กำหนดการประชุม กนง. ส่งผลให้บางปักษ์คร่อมการประชุม กนง.
ดังนั้น ในกรณีที่ตลาดมีการคาดการณ์อย่างชัดเจนเกี่ยวกับทิศทางของอัตราดอกเบี้ยนโยบายว่าจะมีการปรับขึ้นหรือปรับลดลง
การดำเนินการตามข้อ 1-2 ข้างต้นจะทำให้เกิดปัญหาการกระจุกตัวหรือไม่มีการลงทุนใน RP14 วัน ซึ่งจะส่งผลในทางกลับ
กันต่อการลงทุนใน RP1 วัน ทำให้อัตราดอกเบี้ยมีความผันผวนและอัตราดอกเบี้ยในตลาดพันธบัตร(term structure) ถูกบิดเบือน
ในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายนั้น ธปท. จะเน้นการทำธุรกรรมในลักษณะ fixed rate ที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายในธุรกรรม
bilateral repo ในช่วงเช้าของวัน (โดยสถาบันการเงินเป็นผู้เสนอปริมาณที่ต้องการจะกู้หรือลงทุน) และหาก ธปท. ต้องการทำ
ธุรกรรมระยะอื่นนอกเหนือจาก 1 วัน ธปท. จะทำธุรกรรมในลักษณะ variable rate tender(โดยสถาบันการเงินเป็นผู้เสนอทั้ง
ปริมาณและราคาที่ต้องการจะกู้หรือลงทุน) ธปท. ยึดเป้าหมายปริมาณเป็นหลักและให้สถาบันการเงินกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามภาวะ
และการคาดการณ์ของตลาด อย่างไรก็ดี เพื่อไม่ให้มีธุรกรรม fixed rate ที่คร่อมการประชุม กนง. ธปท. จะหลีกเลี่ยงการทำ
ธุรกรรม bilateral repo ระยะ 1 วัน ในช่วงเช้าของวันที่มีการประชุม กนง. เนื่องจากโดยปกติแล้ว ธปท. จะแถลงผลการประชุม
กนง. ในช่วงบ่ายตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2551 เป็นต้นมา ธปท. ได้ใช้อัตราดอกเบี้ยธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรแบบทวิภาคี
(Bilateral Repurchase Transactions) ระยะ 1 วันเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายแทนอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ระยะ 1 พร้อมกับปิดตลาดซื้อคืนพันธบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทยในวันดังกล่าว
ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย
|
|
|
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น